Chapter นี้ผมจะพูดถึงเรื่องสมองของคนนะครับ
เริ่มด้วย development ตั้งแต่แรกละกันครับ
สมองคนแบ่งเป็น 3
ส่วน
1. Forebrain ซึ่งจะแยกเป็น Telencephalon และกลายเป็น
cerebrum
Diencephalon กลายเป็น thalamus hypothalamus
epithalamus
epithalamus
2. Midbrain ซึ่งจะพัฒนาเป็น Mesencephalon กลายเป็น
Midbrain
3. Hindbrain ซึ่งจะแยกเป็น Metencephalon และกลายเป็น
Pons Cerebellum
Myelencephalon
กลายเป็น Medulla oblongata
สมองส่วนหน้า ( forebrain ) ประกอบด้วยส่วนสำคัญดังนี้
เซรีบรัม ( cerebrum ) เป็นส่วนของสมองที่อยู่หน้าสุด
และมีขนาดโตที่สุด
จะมีผิวด้านนอกเป็นเนื้อสีเทา ส่วนด้านในเป็น
เนื้อสีขาว ที่บริเวณผิวด้านนอกมีรอยหยักเป็นร่องมากมาย
ทำให้สมองส่วนนี้มีพื้นที่มากขึ้น จากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์พบว่า
คนมีรอยหยักบนสมองส่วนนี้มากที่สุด
สมองส่วนเซรีบรัม ทำหน้าที่เกี่ยวกับ
1.
การเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ( ความรู้ ) ความจำ ความรู้สึกนึกคิด
เชาว์ปัญญา
2.
เป็นศูนย์ควบคุมการทำงานต่างๆ และรับรู้ความรู้สึกต่างๆของร่างกาย เช่น
ศูนย์ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ
ศูนย์ควบคุมการรับสัมผัสต่างๆ ศูนย์ควบคุมการพูด การรับรู้ภาษา ศูนย์กลางการมองเห็น การรับรส การได้ยิน
และการดมกลิ่น
ออลแฟกทอรีบัลบ์ ( olfactory bulb ) สมองส่วนนี้อยู่ทางด้านหน้าสุด ทำหน้าที่เกี่ยวกับการดมกลิ่น สมองส่วนนี้ในคน
พัฒนาน้อยกว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมอื่นๆ
เช่น สุนัข หมู
ทำให้ความสามารถในการดมกลิ่นของคนน้อยกว่าสัตว์เหล่านั้น แต่ใน
สัตว์ทีมีกระดูกสันหลังชั้นต่ำ เช่น
กบ ปลา จะมีขนาดใหญ่
ทำหน้าที่คล้ายกันเกี่ยวกับการดมกลิ่นได้ดี
ไฮโพทาลามัส ( hypothalamus ) เป็นส่วนที่อยู่ด้านล่างของสมองส่วนหน้าที่ยื่นมาติดต่อกับต่อมใต้สมอง
( pituitary
gland ) เซลล์ประสาทของสมองบริเวณนี้ส่วนมากทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนประสาทหลายชนิด
ซึ่งควบคุมการสร้างฮอร์โมนจาก
ต่อมใต้สมอง
ไฮโพทาลามัสทำหน้าที่สำคัญ คือ เป็นศูนย์ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย การนอนหลับ
การเต้นของหัวใจ ความดันเลือด
ความหิว ความอิ่ม
นอกจากนี้ยังมีหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมอารมณ์ และความรู้สึกต่างๆ เช่น โศกเศร้า
ดีใจ ความรู้สึกทางเพศ
ทาลามัส ( thalamus ) เป็นส่วนที่อยู่เหนือไฮโพทาลามัส
ทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมกระแสประสาทที่ผ่านเข้ามา แล้วแยก
กระแสประสาทส่งไปยังสมองที่เกี่ยวข้องกับกระแสประสาทนั้นๆ
สมองส่วนกลาง ( midbrain )
ที่สมองส่วนกลางจะมีออปติกโลบ ( optic lobe ) อยู่ ในคนสมองส่วนนี้ถูกเซรีบรัมบังเอาไว้ มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม
การเคลื่อนไหวของนัยน์ตา ทำให้ลูกนัยน์ตากลอกไปมาได้
และควบคุมการปิดเปิดของม่านตาในเวลาที่มีแสงสว่างเข้ามามากหรือน้อย
สมองส่วนหลัง ( hindbrain ) ประกอบด้วย
เซรีเบลลัม ( cerebellum ) เป็นสมองส่วนท้ายประกอบด้วยสองซีกอยู่ทางซ้ายและทางขวา และมีผิวด้านนอกที่เป็นเนื้อ
สีเทาและด้านในเป็นเนื้อสีขาว
เช่นเดียวกับเซรีบรัม แต่มีขนาดเล็กกว่า
มีหน้าที่สำคัญ คือ
-
ควบคุมและประสานงานของการเคลื่อนไหวของร่างกายให้เป็นไปอย่าง ราบรื่น สละสลวย
และเที่ยงตรง สามารถทำงาน
ที่ต้องการความละเอียดอ่อนได้
-
ควบคุมการทรงตัวของร่างกาย
พอนส์ ( pons ) อยู่ทางด้านหน้าของเซรีเบลลัมติดต่อกับสมองส่วนกลาง
มีหน้าที่สำคัญ คือ
-
ควบคุมการเคี้ยว
การหลั่งน้ำลาย
การเคลื่อนไหวบริเวณใบหน้า
-
ควบคุมการหายใจ
-
เป็นทางผ่านของกระแสประสาทระหว่างเซรีบรัมกับเซรีเบลลัม และ ระหว่างเซรีเบลลัมกับไขสันหลัง
เมดัลลาออบลองกาตา ( medulla oblongata ) เป็นสมองส่วนที่อยู่ท้ายสุด
โดยติดต่อกับพอนส์ทางด้านบน และไขสันหลัง
ทางด้านล่าง
มีหน้าที่สำคัญ คือ
-
เป็นศูนย์ควบคุมการทำงานของระบบประสาทอัตโนวัติต่างๆ เช่น
การเต้นของหัวใจ การหายใจ การหมุนเวียนเลือด
ความดันเลือด การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อลำไส้ เป็นต้น
-
เป็นศูนย์ปฏิกิริยาสะท้อนกลับบางอย่าง
เช่น การไอ การจาม
การอาเจียน การกลืน การสะอึก
สมองส่วนกลาง พอนส์
และเมดัลลาออบลองกาตา
สมองทั้ง 3 ส่วนนี้รวมเรียกว่า ก้านสมอง ( brain stem )
Cerebrum เป็นสมองที่ใหญ่ที่สุดและทำหน้าที่มากที่สุดของมนุษย์
สำหรับครั้งนี้จะพูดถึง Broca's area บริเวณนี้ใช้สร้างประโยค
ถ้าบริเวนี้มีความผิดปกติจะทำให้พูดไม่รู้เรื่อง แต่ ฟังรู้เรื่อง
Wernicke's area บริเวณนี้ใช้ทำความเข้าใจสิ่งที่ได้ยิน
ถ้าบริเวณนี้บกพร่อง จะพูดรู้เรื่อง แต่พูดไม่ตรงคำถาม
เพราะไม่เข้าใจคำถาม
ตัวอย่างโรค
การดื่มสุราในปริมาณที่มากเป็นเวลานาน
จะทำให้ร่างกายไม่สามารถนำวิตามินบี 1 มาใช้ได้
และนอกจากนี้ยังรบกวนการดูดซึมวิตามินบี 1 เข้าสู่ร่างกายอีกด้วย
จะก่อให้เกิดกลุ่มโรค เรียกว่า Wernicke -
Korsakoff Syndrome ซึ่งเป็นกลุ่มอาการทางสมองที่เกิดจากการขาดวิตามินบี
1 จะทำให้สมองมีการสูญเสียการทำงานบางอย่าง เริ่มต้นด้วย Wernicke encephalopathy จะประกอบด้วย
กล้ามเนื้อสำหรับการกลอกตาเป็นอัมพาต เดินเซ และภาวะสมองสับสน
ปิดท้ายด้วย สมองที่ทำงานตลอดเวลาของโลมาครับ Bye Bye
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น