วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Chapter XII


สัปดาห์นี้พูดถึงความสามารถพิเศษของสิ่งมีชีวิตครับ

พลังชีวิตของ Axolotl


ถ้าการงอกหางใหม่ของจิ้งจกยังไม่ทำให้คุณประทับใจล่ะก็ คุณต้องได้พบกับพลังชีวิตขั้นสุดยอดของซาลาแมนเดอร์ชนิดหนึ่งที่ดำรงชีวิตเป็นทารกตัวโตตลอดชีวิต เพราะมันไม่เคยขึ้นจากน้ำเลย ซึ่งฟังดูแล้วก็ไม่น่าจะต้องมีปัญหาอะไรกับชีวิตมันเลยนี่หว่า แต่เปล่าเลยครับ เพราะความจริงแล้วพวกมันมักประสบกับการเสียแขน ขา หาง และอวัยวะภายใน เนื่องจากการทะเลาะกันเอง หรือถูกโจมตีโดยสัตว์อื่นหรือมนุษย์ ซึ่งถ้าเป็นสัตว์อื่นคงต้องพิการไปตลอดชีวิตแน่ แต่สำหรับ Axolotl แล้วการเสียอวัยวะสักชิ้นไปคือส่วนหนึ่งของชีวิต เพราะมันสามารถงอกส่วนที่หายไปขึ้นมาใหม่ได้ทั้งกระดูกในเวลาไม่กี่เดือน



สัมผัสด้วยไฟฟ้าของตุ่นปากเป็ด ปกติแล้วสัมผัสไฟฟ้ามักมีจำกัดอยู่ในโลกของสัตว์น้ำเท่านั้น แต่ยังมีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่งที่สามารถตรวจจับกระแสไฟฟ้าเพียงเล็กน้อยจากกล้ามเนื้อของพวกมันได้ นั่นคือตุ่นปากเป็ด สัตว์หน้าตาประหลาดจากออสเตรเลียที่มีปากเหมือนเป็ดซึ่งสามารถตรวจจับกระแสไฟฟ้าได้ และไม่ว่าน้ำจะขุ่นแค่ไหน มันก็ยังสามารถค้นหาแหล่งที่มาของไฟฟ้านั้นได้อย่างแม่นยำ ฉะนั้นแทบเป็นไปไม่ได้เลยที่คุณจะตามจับมันหรือหลบหนีมันได้ แต่ถ้าคุณคิดว่าถ้าจับมันได้ก็จบเรื่อง นั่นคุณคิดผิดแล้วล่ะ เพราะตุ่นปากเป็ดยังซ่อนกรงเล็บอาบยาพิษเอาไว้โจมตีอีกด้วย




สมองอันปราดเปรื่องของหมึกยักษ์
หลายต่อหลายครั้งเรามักเห็นตัวละครที่ทรงภูมิปรากฏอยู่ในรูปของหมึก ซึ่งก็ไม่แปลก เพราะนี่อาจเป็นสัตว์ที่ฉลาดที่สุดแห่งท้องทะเลเลยก็ว่าได้ ด้วยหนวดแปดเส้นที่ใช้หยิบจับแทนมือ ดวงตาที่ล้ำลึกยิ่งกว่าสัตว์ทะเลชนิดใด และระดับสมองที่สามารถจดจำสิ่งต่างๆ รอบตัวได้ แถมยังมีความสามารถในการหลบหนีจากที่คุมขังหรือแทรกตัวเข้าไปอยู่ในซอกเล็กๆ และถ้าคุณสมบัติแค่นี้ยังไม่พอให้คุณยอมรับมันได้ คุณคงต้องวัดกำลังกับปุ่มดูดนับร้อยที่รับรองได้ว่า คุณแพ้มันแน่ๆ



โลกไร้แรงดึงดูดของจิ้งจก
ถึงจะเป็นสัตว์ขี้กลัว และจะออกมาในยามวิกาลเท่านั้น แต่จิ้งจกก็ซ่อนพลังวิเศษที่หลายคนอยากครอบครอง เช่น การปีนกำแพงและไต่เพดานได้แบบไม่แคร์แรงดึงดูดของโลก และเคล็ดลับนี้ก็ซ่อนอยู่ใต้นิ้วเท้าของมันนี้เอง เพราะนิ้วของจิ้งจก นั้นปกคลุมด้วยขนจำนวนมหาศาล ที่ทำให้เกิดไฟฟ้าสถิตขึ้น แล้วด้วยไฟฟ้าที่ทำให้เกิดการยึดติดนี่เองที่ทำให้มันสามารถเดินในแนวนิ่งและแนวขนานกับพื้ันโลกได้ แถมไม่ต้องกลัวว่าจะเกิดอาการเวียนหัวเพราะแยกดินแยกฟ้าไม่ออก เพราะจิ้งจกสามารถปรับการไหลเวียนของเลือดได้ภายในเสี้ยววินาที



ถังเคมีเคลื่อนที่ของ Bombardier Beetle
อาจจะเป็นแค่ด้วงตัวเล็กๆ ที่ไม่มีอะไรให้ต้องกลัว แต่ถ้าคุณคิดจะไปจับมันเล่นละก็ ลองคิดใหม่ซะนะ เพราะเจ้าแมลงที่เหมือนไม่มีพิษมีภัยนี้ มันเก็บสารเคมีประเภทกำมะถันไว้ถึงสองชนิด และเมื่อมีภัยคุกคาม เจ้าด้วงจะทำการฉีดสารเคมีทั้งสองตัวออกมาพร้อมกัน และผสมกันจนการเป็นของเหลวกลิ่นฉุนและมีอุณหภูมิสูงขนาดที่สามารถทำให้ผิวของเราไหม้ได้ แต่กลับไม่เป็นอันตรายกับตัวมันเลยสักนิด


จากตัวอย่างด้านบนเราได้เห็นความสามารถที่น่าสนใจของสัตว์ต่างๆ

และเป็นสิ่งที่น่าสนใจในการศึกษากลไกของสัตว์ต่างๆ

นอกจากนั้นความสามารถของสัตว์ต่างๆยังได้นำไปสร้างเป็นภาพยนตร์

เจอกันสัปดาห์หน้าครับ



วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Chapter XI


สวัสดีครับ

สัปดาห์ที่ผ่านมา ผมได้ไปร่วมงานวันเกิดโรงเรียน กรุงเทพคริสเตียน

วันเสาร์ที่ 15 ส.ค. 2558

ผมเข้าร่วมงานตั้งแต่เช้าเป็นงาน พิธีเปิดโดย ไอเดียปีนี้เป็นแนวอนาคตโดยใช้กล่องเดินเรื่อง



หลังจากนั้น ผมได้ไปงานวิชาการ

มีกิจกรรมหลากหลาย ชีวะ ให้สัมผัสสัตว์ต่างๆ

เคมี ให้ลองทดสอบสารโดยใช้หลักการ ของ indicator น้ำอัญชันความสนใจให้เด็กๆที่เข้าร่วมงาน นอกจากนั้นยังมี อักษรล่องหนโดยใช้ citric acid ทาแล้ววาง บน hot plate เพื่อให้อักษรออกมา และ มีกิจกรรมตรวดลายนิ้วมือและเทียบลายนิ้วมือ



หลังจากนั้นผมได้ไปดูละครเวที

ปีนี้ละครเวทีดีมาก ชอบ เนื้อเรื่อง และ เพลงประกอบ

นอกจากนั้นยังมี effect ที่สร้างสรรค์ สร้างความสนุก และ ความประทับใจ



ก่อนกลับผมได้ดู Concert The Mousses และ Lomosonic 3 ช.ม.

สนุกมากได้ร้องเพลงแบบสุดๆและได้ กระโดดไปกับเพื่อนๆ



Concert The Mousses




Concert Lomosonic



สัปดาห์นี้ผมจบด้วยเพลงละครประมวณเรื่องที่ 14 ครับ เจอกัน สัปดาห์หน้าครับ














วันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Chapter X

สวัสดีครับ

Chapter นี้ผมจะพูดถึงเรื่องสมองของคนนะครับ


เริ่มด้วย development ตั้งแต่แรกละกันครับ



สมองคนแบ่งเป็น 3 ส่วน

1. Forebrain ซึ่งจะแยกเป็น        Telencephalon และกลายเป็น cerebrum
                                                   Diencephalon กลายเป็น thalamus hypothalamus 
                                                   epithalamus
2. Midbrain ซึ่งจะพัฒนาเป็น     Mesencephalon กลายเป็น Midbrain

3. Hindbrain ซึ่งจะแยกเป็น       Metencephalon และกลายเป็น Pons Cerebellum

                                                  Myelencephalon กลายเป็น Medulla oblongata

 สมองส่วนหน้า ( forebrain )  ประกอบด้วยส่วนสำคัญดังนี้
        เซรีบรัม ( cerebrum )  เป็นส่วนของสมองที่อยู่หน้าสุด และมีขนาดโตที่สุด  จะมีผิวด้านนอกเป็นเนื้อสีเทา ส่วนด้านในเป็น
เนื้อสีขาว  ที่บริเวณผิวด้านนอกมีรอยหยักเป็นร่องมากมาย ทำให้สมองส่วนนี้มีพื้นที่มากขึ้น จากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์พบว่า
คนมีรอยหยักบนสมองส่วนนี้มากที่สุด
       สมองส่วนเซรีบรัม  ทำหน้าที่เกี่ยวกับ
         1.  การเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ( ความรู้ ) ความจำ ความรู้สึกนึกคิด เชาว์ปัญญา
         2.  เป็นศูนย์ควบคุมการทำงานต่างๆ และรับรู้ความรู้สึกต่างๆของร่างกาย  เช่น  ศูนย์ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ
ศูนย์ควบคุมการรับสัมผัสต่างๆ  ศูนย์ควบคุมการพูด การรับรู้ภาษา  ศูนย์กลางการมองเห็น การรับรส การได้ยิน และการดมกลิ่น
         ออลแฟกทอรีบัลบ์ ( olfactory bulb )  สมองส่วนนี้อยู่ทางด้านหน้าสุด  ทำหน้าที่เกี่ยวกับการดมกลิ่น  สมองส่วนนี้ในคน
พัฒนาน้อยกว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมอื่นๆ เช่น  สุนัข  หมู  ทำให้ความสามารถในการดมกลิ่นของคนน้อยกว่าสัตว์เหล่านั้น  แต่ใน
สัตว์ทีมีกระดูกสันหลังชั้นต่ำ  เช่น  กบ  ปลา  จะมีขนาดใหญ่ ทำหน้าที่คล้ายกันเกี่ยวกับการดมกลิ่นได้ดี
         ไฮโพทาลามัส ( hypothalamus )  เป็นส่วนที่อยู่ด้านล่างของสมองส่วนหน้าที่ยื่นมาติดต่อกับต่อมใต้สมอง ( pituitary
gland )  เซลล์ประสาทของสมองบริเวณนี้ส่วนมากทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนประสาทหลายชนิด ซึ่งควบคุมการสร้างฮอร์โมนจาก
ต่อมใต้สมอง
         ไฮโพทาลามัสทำหน้าที่สำคัญ คือ  เป็นศูนย์ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย  การนอนหลับ  การเต้นของหัวใจ  ความดันเลือด
ความหิว  ความอิ่ม  นอกจากนี้ยังมีหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมอารมณ์ และความรู้สึกต่างๆ เช่น  โศกเศร้า  ดีใจ  ความรู้สึกทางเพศ
         ทาลามัส ( thalamus )  เป็นส่วนที่อยู่เหนือไฮโพทาลามัส  ทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมกระแสประสาทที่ผ่านเข้ามา  แล้วแยก
กระแสประสาทส่งไปยังสมองที่เกี่ยวข้องกับกระแสประสาทนั้นๆ

   สมองส่วนกลาง ( midbrain ) 
       ที่สมองส่วนกลางจะมีออปติกโลบ ( optic  lobe ) อยู่  ในคนสมองส่วนนี้ถูกเซรีบรัมบังเอาไว้  มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม
การเคลื่อนไหวของนัยน์ตา  ทำให้ลูกนัยน์ตากลอกไปมาได้ และควบคุมการปิดเปิดของม่านตาในเวลาที่มีแสงสว่างเข้ามามากหรือน้อย

 สมองส่วนหลัง ( hindbrain )  ประกอบด้วย
        เซรีเบลลัม ( cerebellum )  เป็นสมองส่วนท้ายประกอบด้วยสองซีกอยู่ทางซ้ายและทางขวา  และมีผิวด้านนอกที่เป็นเนื้อ
สีเทาและด้านในเป็นเนื้อสีขาว เช่นเดียวกับเซรีบรัม แต่มีขนาดเล็กกว่า
          มีหน้าที่สำคัญ  คือ
          -  ควบคุมและประสานงานของการเคลื่อนไหวของร่างกายให้เป็นไปอย่าง ราบรื่น  สละสลวย  และเที่ยงตรง  สามารถทำงาน
ที่ต้องการความละเอียดอ่อนได้
         -  ควบคุมการทรงตัวของร่างกาย
         พอนส์ ( pons )  อยู่ทางด้านหน้าของเซรีเบลลัมติดต่อกับสมองส่วนกลาง
         มีหน้าที่สำคัญ  คือ
         -  ควบคุมการเคี้ยว  การหลั่งน้ำลาย  การเคลื่อนไหวบริเวณใบหน้า
         -  ควบคุมการหายใจ
         -  เป็นทางผ่านของกระแสประสาทระหว่างเซรีบรัมกับเซรีเบลลัม  และ ระหว่างเซรีเบลลัมกับไขสันหลัง
         เมดัลลาออบลองกาตา ( medulla oblongata )  เป็นสมองส่วนที่อยู่ท้ายสุด โดยติดต่อกับพอนส์ทางด้านบน และไขสันหลัง
ทางด้านล่าง
         มีหน้าที่สำคัญ  คือ
         -  เป็นศูนย์ควบคุมการทำงานของระบบประสาทอัตโนวัติต่างๆ  เช่น  การเต้นของหัวใจ  การหายใจ  การหมุนเวียนเลือด
ความดันเลือด  การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อลำไส้  เป็นต้น
         -  เป็นศูนย์ปฏิกิริยาสะท้อนกลับบางอย่าง  เช่น  การไอ  การจาม  การอาเจียน  การกลืน  การสะอึก
         สมองส่วนกลาง  พอนส์  และเมดัลลาออบลองกาตา  สมองทั้ง  3  ส่วนนี้รวมเรียกว่า  ก้านสมอง ( brain  stem )


''

Cerebrum เป็นสมองที่ใหญ่ที่สุดและทำหน้าที่มากที่สุดของมนุษย์

สำหรับครั้งนี้จะพูดถึง  Broca's area บริเวณนี้ใช้สร้างประโยค

ถ้าบริเวนี้มีความผิดปกติจะทำให้พูดไม่รู้เรื่อง แต่ ฟังรู้เรื่อง

Wernicke's area บริเวณนี้ใช้ทำความเข้าใจสิ่งที่ได้ยิน

ถ้าบริเวณนี้บกพร่อง จะพูดรู้เรื่อง แต่พูดไม่ตรงคำถาม เพราะไม่เข้าใจคำถาม

ตัวอย่างโรค
การดื่มสุราในปริมาณที่มากเป็นเวลานาน จะทำให้ร่างกายไม่สามารถนำวิตามินบี 1 มาใช้ได้ และนอกจากนี้ยังรบกวนการดูดซึมวิตามินบี 1 เข้าสู่ร่างกายอีกด้วย จะก่อให้เกิดกลุ่มโรค เรียกว่า Wernicke - Korsakoff Syndrome ซึ่งเป็นกลุ่มอาการทางสมองที่เกิดจากการขาดวิตามินบี 1 จะทำให้สมองมีการสูญเสียการทำงานบางอย่าง เริ่มต้นด้วย Wernicke encephalopathy จะประกอบด้วย กล้ามเนื้อสำหรับการกลอกตาเป็นอัมพาต เดินเซ และภาวะสมองสับสน

ปิดท้ายด้วย สมองที่ทำงานตลอดเวลาของโลมาครับ Bye Bye



















วันเสาร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Chapter IX

สวัสดีครับเดินทางมาถึง Chapter IX ละครับ
สัปดาห์ที่ผ่านมาผมได้ไปดู Ant man เป็นหนังที่นอกจสนุกแล้วยังสอดแทรกวิทยาศาสตร์





เรื่องนี้พูดถึง Pym Particle โดยอธิบายว่าอนุภาคนี้  จะสามารถลดระยะห่างระหว่างอะตอมโดยมีทฤษฎีอ้างอิงที่ว่า 99% ของอะตอมจะเป็นช่องว่าง การลดระยะห่างของ อนุภาคนี้จะทำให้ขนาดเล็กลงและ ความหนาแน่นเพิ่มขึ้น




และใช้ขนาดย่อขยายเพื่อใช้ในการต่อสู้และนอกจากนั้นเรื่องนี้ยังต่อสู้เป็นทีมโดยใช้มดเพื่อช่วยในการต่อสู้โดยใช้ประโยชน์จากความสามารถของมดสายพันธุ์สายพันธุ์ต่างๆ

แต่จุดที่น่าสนใจของเรื่องนี้คือตอนที่ย่อขนาดเล็กกว่าอะตอมและเข้าไปในมิติที่ 5 ซึ่งเวลาเป็นมิติทางกายภาพ

ดังนั้นเราจึงสามารถเดินทางไป อดีต ปัจจุบัน หรืออนาคตได้เหมือนเดิน ขึ้น-ลงบันได โดยปกติคนเราจะเป็นสิ่งมีชีวิต 4 มิติโดย 3 มิติเป็น มิติทางกายภาพ และ อีกมิติเป็นเวลาซึ่งโดยทฤษฎีเรายังไม่สามารถเดินทางย้อนเวลาได้



ก่อนหน้าผมได้เคยได้ยินทฤษฎีนี้ในหนังเรื่อง Interstellar

ตอนที่พระเอกเดินทางผ่าน black hole (ตอนใกล้จบ)



หลังจากนั้นพระเอกได้พยายามหาวิธีสื่อสารกลับคนอื่นหลังพบว่าหลุมดำเชื่อมกับห้องสมุดบ้านของเขา




และพระเอกส่งสัญญาณข้ามมิติไปโดยใช้แรงโน้มถ่วงขยับเข็มนาฬิกา



เมื่อสามารถส่งได้พระเอกจึงให้ข้อมูลขณะที่เดินางข้ามหลุมดำทำให้ลูกพระเอกสามารถคิดทฤษฎีที่ทำให้มนุษย์สามาถไปอยู่บนสถานีอวกาศทีเดินทางรอบดาวเคราห์ได้


และนอกจากนั้นยังมีทฤษฎีที่หน้าสนใจเช่น string theory

               ทฤษฎีสตริง เป็นแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ สำหรับฟิสิกส์เชิงทฤษฎี ที่มี บล็อกโครงสร้าง (building blocks) เป็นวัตถุขยายมิติเดียว (สตริง) แทนที่จะเป็นจุดศูนย์มิติ (อนุภาค) ซึ่งเป็นพื้นฐานของแบบจำลองมาตรฐานของฟิสิกส์อนุภาค นักทฤษฎีสตริงนั้นพยายามที่จะปรับแบบจำลองมาตรฐาน โดยการยกเลิกสมมุติฐานในกลศาสตร์ควอนตัม ที่ว่าอนุภาคนั้นเป็นเหมือนจุด ในการยกเลิกสมมุติฐานดังกล่าว และแทนที่อนุภาคคล้ายจุดด้วยสตริงหรือสาย ทำให้มีความหวังว่าทฤษฎีสตริงจะพัฒนาไปสู่ทฤษฎีสนามโน้มถ่วงควอนตัมที่เข้าใจได้ง่าย นอกจากนี้ทฤษฎีสตริงยังปรากฏว่าสามารถที่จะ "รวม" แรงธรรมชาติที่รู้จักทั้งหมด (แรงโน้มถ่วง, แรงแม่เหล็กไฟฟ้า, แรงอันตรกิริยาแบบอ่อน และแรงอันตรกิริยาแบบเข้ม) โดยการบรรยายด้วยชุดสมการเดียวกัน และทฤษฎีอื่นๆจะพูดทีหลังครับ

กลับมาที่คำถามสัปดาห์ที่แล้ว เรื่อง Hyper ventilation cause alkalosis


เมื่อ หายใจถี่ขึ้น (hyper ventilation) ทำให้ CO2 ในเลือดลดลง ทำให้สมการ shift ซ้าย ตามกฎของ 
 le chatelier เพื่อลด stress ของระบบให้ลดลงจึงต้องทำให้ความเข้มข้นต่างกันน้อยลง ทำให้เลือดเป็นเบส การหายใจในถุงเป็นการเพิ่ม CO2 ทำให้สมการ shift ขวาตามกฏของ le chatelier ทำให้เลือดเป็นเบสลดลง ทำให้กลับมาเป็นปกติ จบละนะครับสำหรับคำถาม จะเห็นได้ว่าชีวะสามารถอธิบายได้ด้วยเคมี

ปิดท้ายด้วย Amazing fact blow your mind part 2