สวัสดีครับ
ในวันนี้ผมจะพูดถึงการทดลองของผมในวิชาเตมี
จากเนื้อหาในเรื่องอัตราเราได้รู้ว่ามีปัจจัยต่างๆดังนี้
1.ธรรมชาติของสาร
2.ความเข้มข้น
3.พื้นที่ผิว(ของแข็ง)
4.อุณหภูมิ
5.ความดัน
ในคาบกลุ่มผมทำเรื่อง พื้นที่ผิวโดยใช้ชอล์ก(CaCO3) ผสมกับ HCL ดังสมการ
CaCO3(s) + 2 HCl (aq) --> H2O(l) + CO2(g) + CaCl2(aq)
ดังนั้นเราจะสามารถดูได้จาก ปริมาณ CaCO3 ที่ลดลง
การทดลอง
1.นำชอล์กที่มีขนาดใกล้เคียงกันมาหักและบด
1.1 ชุดแรกเป็นแบบไม่ได้หัก
1.2 ชุดที่สองหักเป็น 2 ท่อน
1.3 ชุดที่สามบดจนละเอียด
2.ใส่ HCl ความเข้มข้น 6 M 20 หยด ประมาณ 0.05*20 = 1 ml มีปริมาณ HCl = 6mmol
3.ผสมน้ำให้มีปริมาตร 50 ml
4.นำชอล์กที่เตรียมไว้ใส่ลงบีกเกอร์ตามลำดับ
5.จับเวลาจน CaCO3 ละลายหมด
6.บันทึกผลการทดลอง
ผลการทดลอง
ลำดับการเกิดปฏิกิริยา
บีกเกอร์ 3 บีกเกอร์ 2 บีกเกอร์ 1 ตามลำดับ
สรุปผลการทดลอง
จากผลการทดลอง ชอล์กที่บดมีพื้นที่ผิวมากที่สุด
ชอล์กที่หักมีพื้นที่ผิวมากกว่าชอล์กที่ไม่ได้หัก ดังนั้นื้นที่ผิวมีผลต่อการเกิดปฏิกิริยา
การทดลองที่สองเป็นของกลุ่มเพื่อนผมทำเรื่องความเข้มข้น
โดยใช้ Sodium thiosulfate ผสมกับ HCl
2HCl(aq) + Na2S2O3(aq) --> 2NaCl(aq) + SO2(g) + S(s) + H2O(l)
จะสามารถวัดได้จากความขุ่นของสารละลาย
การทดลอง
1.ใส่ sodium thiosulfate ในความเข้มข้นต่างกัน 1,2,3 น้อยไปมากตามลำดับ
2.กากบาทลงบนกระดาษ
3.วางบีกเกอร์ในตำแหน่งที่กากบาท
4.ใส่ HCl ลงใน บีกเกอร์ทั้งสาม
5.ดูอัตตาการเกิดปฏิกิริยาจากเวลาที่กากบาทหายไป
6.บันทึกผลการทดลอง
ผลการทดลอง
ความเร็วที่กากบาทหายไป
บีกเกอร์ 3 บีกเกอร์ 2 บีกเกอร์ 1 ตามลำดับ
สรุปผลการทดลอง
ความเร็วที่กากบาทหายไปคือ อัตราการเกิดปฏิกิริยา
เพราะผลิตภัณฑ์ จะทำให้น้ำขุ่น ถ้ากากบาทหายไปเร็วแสดงว่าปฏิกิริยาเกิดเร็ว
จากผลการทดลอง อัตราการเกิดปฏิกิริยา แปรผลตาม ความเข้มข้น
ปิดท้ายด้วย Physic Phenomena
ฺBye Bye ครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น