สวัสดีครับ
วันนี้จะขอพูดถึงเคมีเรื่องกรด เบส
การไตเตรทครับ
ผมได้มีโอกาสไปทำการไตเตรท
ที่โรงเรียนโดยใช้ สาร 3 ตัว เป็น NaOH
HCl และ Unknown
1.ตอนแรกนำ HCl 0.01 M มาไตเตรท กับ NaOH เพื่อหาความเข้มข้นของ
NaOH โดยใช้ Bromothymol blue เป็น indicator
เนื่องจากไม่มี pH มิเตอร์(ถ้าเราวัด pH ได้เราจะสามารถหาความเข้มข้นได้ด้วย)
2.เมื่อเรารู้ความเข้มข้น NaOH เราจึงนำ มา ไตเตรทกับ unknown โดยใช้ methyl red เป็น indicator เพื่อหาการแตกตัวครั้งแรกของสารนี้
3. เพื่อหาการแตกตัวครั้งที่สอง
เราจึงนำ NaOH มาไตเตรทกับ unknown อีกทีเพื่อหาการแตกตัวขั้นที่สองของ unknown โดยใช้ Phenolphthalein
เป็น indicator
4.สรุปผลหาควมเข้มข้นของ unknown
จากการทดลองนี้ทำให้ผมได้ฝึกใช้อุปกรณ์ต่างๆ
เช่น ปิเปต บิวเรต กรวยใส่สาร flask และอื่นๆ
และยังทำให้เห็นภาพและเพิ่มความเข้าใจ
เราจะไตเตรทจนกว่า indicator เปลี่ยนสี Bromothymol blue เป็นสีเหลือง (6.0-7.6) เหลือง-น้ำเงิน
methyl red เป็นสีเหลือง (4.4-6.2) แดง-เหลือง
Phenolphthalein เป็นสีชนพู(8.0-9.6) ไม่มีสี-สีชมพู
อินดิเคเตอร์สำหรับกรด-เบส คืออะไร
อินดิเคเตอร์ คือ
สารที่ใช้บอกความเป็นกรด-เบส ของสารละลายได้อย่างหนึ่ง
สารประกอบที่เปลี่ยนสีได้ที่ pH เฉพาะตัว จะถูกนำมาใช้เป็นอินดิเคเตอร์ได้ เช่น ฟีนอล์ฟทาลีน
จะไม่มีสีเมื่ออยู่ในสารละลายกรด และจะเปลี่ยนเป็นสีชมพู
เมื่ออยู่ในสารละลายเบสที่มี pH 8.3
ภาพฟีนอล์ฟทาลีน
อินดิเคเตอร์สำหรับกรด-เบส
เป็นสารอินทรีย์ อาจเป็นกรดหรือเบสอ่อนๆ
ซึ่งสามารถเปลี่ยนจากรูปหนึ่งไปเป็นอีกรูปหนึ่งได้ เมื่อ pH ของสารละลายเปลี่ยน
การเปลี่ยนสีของอินดิเคเตอร์
HIn เป็นสัญลักษณ์ของอินดิเคเตอร์ที่อยู่ในรูปกรด (Acid
form)
In- เป็นสัญลักษณ์ของอินดิเคเตอร์ที่อยู่ในรูปเบส (Basic
form)
รูปกรดและรูปเบสมีภาวะสมดุล
เขียนแสดงได้ด้วยสมการ ดังนี้
HIn (aq) + H2O (l) H3O+ (aq) + In- (aq)
ไม่มีสี *
สีชมพู* ; (* = กรณีเป็นฟีนอล์ฟทาลีน)
(รูปกรด) (รูปเบส)
Kind =
HIn และ In- มีสีต่างกันและปริมาณต่างกัน
จึงทำให้สีของสารละลายเปลี่ยนแปลงได้ ถ้าปริมาณ HInมากก็จะมีสีของรูปกรด
ถ้ามีปริมาณ In-มากก็จะมีสีของรูปเบส การที่จะมีปริมาณ HIn
หรือ In มากกว่าหรือน้อยกว่านั้นขึ้นอยู่กับปริมาณ
H3O+ ในสารละลาย ถ้ามี H3O+ มากก็จะรวมกับ In- ได้เป็น
HIn ได้มากจะเห็นสารละลายใสไม่มีสีของ HIn แต่ถ้าอยู่ในสารละลายที่มี OH- มาก OH-จะทำปฏิกิริยากับ H3O+ ทำให้H3O+ ลดลง ซึ่งจะมีผลทำให้เกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้าได้
In- มากขึ้น จะเห็นสารละลายในรูปของ In- คือเห็นเป็นสีชมพู
เจอกันสัปดาห์หน้าครับ